ซีเมนต์โฟม : CEMENTFOAM
ทุกวันนี้แนวความคิดเรื่อง “การก่อสร้างเพื่อการประหยัดพลังงาน อนุรักษ์ธรรมชาติ” หรือ Green Building เป็นกระแสใหม่ที่มาแรง ทั้งในกลุ่ม สถาปนิก นักออกแบบ และ ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ ที่กำลังมองหานวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในงานออกแบบและก่อสร้าง เพื่อตอบสนองตามความต้องการของกระแส Green Building
CEMENTFOAM คือ นวัตกรรมใหม่สำหรับระบบก่อสร้างผนังโฟม ที่ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และช่วยประหยัดพลังงานในการใช้ไฟฟ้าของอาคารได้ดีที่สุด ด้วยการเลือกใช้วัสดุ Expanded Polystyrene Foam หรือ โฟมกันความร้อน EPS มาใช้ทดแทนการก่ออิฐฉาบปูน เพื่อลดระยะเวลาในการก่อสร้าง ลดต้นทุนในส่วนโครงสร้างของอาคาร และลดจำนวนแรงงานในการทำงาน อีกทั้งมีคุณสมบัติที่เป็นฉนวนกันความร้อนได้อย่างดีเยี่ยม จึงช่วยลดค่าใช้จ่ายและพลังงานไฟฟ้าในการปรับอากาศได้มากกว่า 30% เป็นอย่างน้อย
CEMENTFOAM จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับนวัตกรรมการก่อสร้างเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนและน่าสนใจอีกหนึ่งทางเลือกของวงการก่อสร้างในประเทศไทยต่อไป
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
คุณสมบัติพิเศษ
น้ำหนักเบา เพราะโฟม EPS มีน้ำหนักเบามากเมื่อเทียบกับการก่ออิฐ โดยมีน้ำหนักไม่กิน 30กก.ต่อ1ตร.ม. เมื่อรวมปูนฉาบสองด้านแล้ว จึงทำให้อาคาร บ้านเรือนที่ก่อสร้างด้วยระบบ CEMENTFOAM มีน้ำหนักเบากว่าอาคารทั่วไปด้วย
ลดโครงสร้าง ระบบ CEMENTFOAM ช่วยลดขนาดของโครงสร้างอาคารเพราะเป็นระบบที่มีน้ำหนักเบา จึงไม่จำเป็นต้องออกแบบโครงสร้างของอาคารให้ใหญ่เหมือนระบบเก่า ทำให้ช่วยประหยดงบประมาณในการก่อสร้างฐานรากและโครงสร้างของอาคารได้
เย็นสบาย เพราะโฟม EPS มีคุณสมบัติเป็นฉนวนกันความร้อนอย่างดีเยี่ยม จึงทำให้ภายในอาคารที่สร้างด้วยระบบ CEMENTFOAM มีอุณหภูมิที่เย็นสบายสำหรับผู้อยู่อาศัย
รวดเร็ว ติดตั้งง่าย ระบบ CEMENTFOAM มีน้ำหนักเบาทำให้สะดวกในการขนย้าย, ติดตั้ง หรือจัดเก็บ ช่วยลดระยะเวลาและแรงงานในการก่อสร้างได้
ประหยัดพลังงาน ลดค่าไฟ อาคารที่ใช้ระบบ CEMENTFOAM จะมีอัตราการใช้ไฟฟ้าในการปรับอากาศน้อยกว่าระบบอื่นถึง 30% ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างมาก เพราะโฟม EPS นั่นมีคุณสมบัติที่เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดีเยี่ยมนั่นเอง
เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โฟม EPS ถึงจะใช้เวลายาวนานในการย่อยสลายซึ่งเป็นผลดีต่อการนำมาใช้เป็นวัสดุก่อสร้างแล้ว โฟม EPS ยังไม่มีสารพิษใดๆต่อผู้ใช้งาน อีกด้วย นอกจากนี้โฟม EPS นั้นไม่มีสาร CFC และสารที่ก่อให้เกิดสภาวะโลกร้อน แต่อย่างใด
ข้อมูลเทคนิค
ตารางเปรียบเทียบราคาก่อสร้างระหว่าง ระบบซีเมนต์โฟมและระบบก่ออิฐฉาบปูน
คุณสมบัติ | ซีเมนต์โฟม | อิฐบล็อก | อิฐมวลเบา | อิฐมอญ |
น้ำหนักรวมปูนฉาบ (kg/SQM) | 25 | 155 | 95 | 180 |
ปูนก่อ | ไม่มี | ทั่วไป | ปูนก่อเฉพาะ | ทั่วไป |
ปูนฉาบ | ทั่วไป | ทั่วไป | ปูนฉาบเฉพาะ | ทั่วไป |
อุปกรณ์การตัด | ทั่วไป | ทั่วไป | ทั่วไป | ฆ้อน |
การเจาะฝังท่อ | ทำได้ง่าย | ทำได้ง่าย | ทำได้ยาก | ทำได้ยาก |
การเจาะยึด, แขวน | พุกเฉพาะ / แขวนที่โครงสร้าง | พุกทั่วไป | พุกเฉพาะ | พุกทั่วไป |
ค่าวัสดุอิฐก่อ /SQM | โฟมหนา 3 นิ้ว = 200บาท | 12.5 ก้อน@6บาท =75บาท | 8.33ก้อน@20บาท =117บาท | 135ก้อน@0.75บาท =101.25บาท |
ค่าวัสดุปูนก่อ /SQM | ไม่มี | ใช้ปูนก่อธรรมดา 13บาท | ใช้ปูนก่อพิเศษ 33บาท | ใช้ปูนก่อธรรมดา 34บาท |
ค่าวัสดุปูนฉาบ2ด้าน/SQM | ใช้ปูนฉาบธรรมดา 45บาท + ตะแกรงเหล็ก Wire Mesh 24บาท | ใช้ปูนฉาบธรรมดา 55บาท | ใช้ปูนฉาบพิเศษ 120บาท | ใช้ปูนฉาบธรรมดา 55บาท |
รวมค่าวัสดุ | 269 | 143 | 270 | 190.25 |
คุณสมบัติของ Expanded Polystyrene Foam
คุณสมบัติ Properties | มาตรฐาน Method | หน่วย Unit | ผลการทดสอบ Test results | ||
ความหนาแน่น Bulk Density | ISO 845 | กก./ลูกบาศก์เมตร Kg/m3 | 15 | 20 | 30 |
ค่าการนำความความร้อน Thermal conductivity | ASTM C177 | วัตต์/มิลลิเคลวิน W/m – K | 0.036 – 0.038 | 0.033 – 0.036 | 0.031 – 0.035 |
ความทนต่อแรงดึงยืด Tensile Strength | EN 1608 | กิโลปาสคาล KPa | 160 – 260 | 230 – 330 | 380 – 480 |
ความต้านการแอ่นตัว Flexural Strength | EN 12089 | กิโลปาสคาล KPa | 150 – 230 | 250 – 310 | 430 – 490 |
ความทนต่อแรงอัด Compressive Strength | EN 826 | กิโลปาสคาล KPa | 65 – 100 | 110 – 140 | 200 – 250 |
ลักษณะการเผาไหม้ Combustibility | JIS A9511 | วินาที Second | 0.7 – 2 | 0.7 – 2 | 0.7 – 2 |
ค่าการดูดซึมน้ำ Water Absorption | ASTM C272 | % โดยน้ำหนัก % by Volume | < 4.0% | < 3.0% | < 2.0% |
รูปแบบการใช้งาน
พื้น สามารถใช้ระบบ CEMENTFOAM ร่วมกับแผ่นพื้นสำเร็จเพื่อลดน้ำหนักอาคารและเป็นฉนวนกันความร้อน
- ชนิดของคาน สามารถใช้ร่วมได้กับคานเหล็กรูปพรรณ, ไม้ และคอนกรีต
- ระยะห่างของคาน เหมือนการก่อสร้างทั่วไปเพราะใช้ร่วมกับแผ่นพื้นสำเร็จ คือ ความยาวช่วงของตง = 40 ม. ระยะห่างระหว่างตง = 0.40 ม.
ผนัง ใช้ระบบ CEMENTFOAM ทำผนังอาคารแทนการก่ออิฐได้ ทั้งผนังเบาและผนังภายนอก เพื่อลดน้ำหนักอาคารและเป็นฉนวนกันความร้อน
- ชนิดของโครงคร่าว ใช้ร่วมกับโครงคร่าวเหล็ก U-TRACK
- ระยะห่างโครงคร่าว ตั้งระยะห่างระหว่างโครงคร่าวแนวตั้ง = 1.20 ม. แนวนอน = 0.90 ม.
หลังคา ใช้โฟม EPS เป็นฉนวนกันความร้อนบนโครงสร้างหลังคาเพื่อป้องกันไม่ให้ความร้อนเข้าสู่ภายในอาคาร บ้านเรือน
- ชนิดของโครงหลังคา ใช้ได้กับโครงสร้างหลังคาเหล็กรูปพรรณและไม้
- ระยะห่างของแป ระยะแป โดยทั่วไปกับในงานโฟม EPS ระยะแปไม่ควรเกิน 1.2 ม. เว้นเสียแต่ว่าใช้แผ่นโฟม EPS ที่มีความหนาแน่นสูง การใช้แผ่นโฟม EPS บางหรือแผ่นโฟมที่มีความหนาแน่นน้อย แผ่นโฟม EPS จะมีโอกาสเกิดการทิ้งตัว หรือที่เรียกว่าตกท้องช้าง ทำให้เกิดการหนีกันของแผ่นโฟมได้ นิยมใช้แปวางถี่ขึ้น ในระยะห่าง 1ม.
การติดตั้งทั่วไป
- การตัด สามารถใช้เลื่อยงานช่างทั่วไปหรือมีดคัตเตอร์ตัดโฟม EPS ได้อย่างง่ายดาย
- การต่อโฟม EPS ในกรณีที่จำเป็นต้องมีการต่อแผ่นโฟม EPS เข้าด้วยกันให้ใช้กาวสำหรับต่อโฟม EPS โดยเฉพาะเท่านั้น เพราะกาวชนิดอื่นจะทำปฎิกิริยากับโฟม EPS ทำให้ละลายได้
- การฉาบ สามารถกรุลวดกรงไก่หรือตาข่ายเสริมแรงติดกับแผ่นโฟม EPS พร้อมกับทาน้ำยาพิเศษสำหรับประสานโฟม EPS และปูนฉาบให้ยึดติดกัน สุดท้ายทำการฉาบปูนฉาบลงบนผิวหน้าแผ่นโฟม EPS ได้เลย
วิธีการติดตั้ง
เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2556 CEMENTFOAM ได้รับคัดเลือกจากห้องสมุดวัสดุเพื่อการออกแบบ หรือ Material Connexion Bangkok ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ให้เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลวัสดุใหม่ที่มีความสร้างสรรค์และมีคุณภาพเป็นระดับสากล และที่สำคัญ เป็นวัสดุโฟม EPS เพื่อการก่อสร้างจากผู้ประกอบการไทยเพียงรายเดียวที่ได้รับเลือกในครั้งนี้
ราคาโฟมแผ่น | |||
---|---|---|---|
ความหนาของโฟมแผ่น 1 นิ้ว | |||
ความหนาแน่น (Density) |
60 x 120 cm ราคาโฟมแผ่น/บาท |
120 x 300 cm ราคาโฟมแผ่น/บาท |
ราคาโฟมแผ่น/ตารางเมตร |
1.0 | 34.50 | 172.50 | 48 |
1.25 | 43.25 | 216 | 60 |
1.5 | 52 | 259 | 72 |
2.0 | 69 | 345 | 93 |
* เพิ่มความหนา ราคาข้างต้น x ความหนาที่ต้องการ * |