โฟมทุ่น แพโฟม : BUOYANCY
การนำโฟม EPS หรือ Expanded Polystyrene Foam มาใช้ในงานลอยน้ำต่างๆนั้นมีมานานแล้ว และเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งในอเมริกาเหนือและยุโรป เพราะโฟม EPS เป็นวัสดุที่มีอายุการใช้งานยาวนาน ไม่ผุกร่อนหรือเป็นสนิม มีน้ำหนักเบาแต่บรรทุกน้ำหนักได้มาก และที่สำคัญโฟม EPS ไม่มีสารเคมีที่เป็นอันตรายใดๆทั้งต่อสภาวะแวดล้อมที่นำไปใช้และต่อผู้ใช้งานอีกด้วย การเลือกใช้โฟม EPS ถือว่าเป็นทางเลือกหนึ่งในการทดแทนการใช้ทุ่นเหล็ก, ถังน้ำมัน 200 ลิตร หรือทุ่นพลาสติกที่มีราคาสูงมาใช้ในงานลอยน้ำทั้งหลาย เพราะโฟม EPS มีความคุ่มค่ากว่าทั้งในเรื่องราคาที่เหมาะสม อายุการใช้งานที่ยาวนาน และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวกับหน้า (สารบัญข้อมูล) >>
ข้อมูลผลิตภัณฑ์
EPS Buoyancy System คือ การนำโฟม EPS หรือ Expanded Polystyrene Foam มาใช้ในงานลอยน้ำต่างๆ เช่น ทุ่นลอยน้ำ, แพ, โป๊ะ, ทางเดินลอยน้ำ เป็นต้น เพราะโฟม EPS มีคุณสมบัติในการลอยน้ำได้ดี ดูดซึมน้ำต่ำและบรรทุกน้ำหนักได้มาก อีกทั้งยังไม่ผุและเป็นสนิมเช่นไม้และเหล็ก
คุณสมบัติพิเศษ
- น้ำหนักเบา ดูดซึมน้ำต่ำ ทุ่นที่ทำจากโฟม EPS มีคุณสมบัติที่น้ำหนักเบามากเมื่อเทียบกับทุ่นไม้, เหล็ก หรือทุ่นพลาสติก ทำให้โฟม EPS สามารถลอยน้ำได้ดี และโฟม EPS นั้นยังมีอัตราการดูดซึมน้ำต่ำ คือ น้อยกว่า 3% อีกด้วย
- บรรทุกน้ำหนักได้มาก โฟม EPS มีความพิเศษที่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกเมื่อลอยน้ำได้มาก โดยต้องใช้แรงกดประมาณ 1000กก. จึงสามารถกดโฟม EPS ขนาด 1m3 ให้จมปริ่มน้ำได้
- อายุการใช้งานยาวนาน เพราะโฟม EPS ไม่ผุกร่อนและเป็นสนิม สามารถใช้ได้ในสภาพน้ำทุกประเภท และไม่ย่อยสลายเมื่อเจอแสงแดด
- สะดวก ทำงานง่าย โฟม EPS เบามากเคลื่อนย้ายได้ง่าย เลื่อยหรือตัดตามขนาดที่ต้องการได้โดยใช้เลื่อยหรือมีด จึงทำให้ทำงานได้อย่างรวดเร็วเสร็จงานไว
ข้อมูลเทคนิค
คุณสมบัติของ Expanded Polystyrene Foam
คุณสมบัติ Properties | มาตรฐาน Method | หน่วย Unit | ผลการทดสอบ Test results |
||
---|---|---|---|---|---|
ความหนาแน่น Bulk Density | 1.5 | 2.0 | 2.25 | ||
ค่าการนำความความร้อน Thermal conductivity | ASTM C177 | วัตต์/มิลลิเคลวิน W/m * K | 0.029 | 0.0272 | 0.0275 |
ลักษณะการเผาไหม้ Combustibility | JIS A9511 | วินาที Second | 2.47 | 2.07 | 1.44 |
การดูดซึมน้ำต่ำ(4 วัน) | ASTM D570 | % การเปลี่ยนแปลงของมวล | 1.09 | 1.09 | 1.76 |
ความทนต่อแรงกดอัด Compressive Strength | ASTM D1621 | kN/m2 | 139.2 | 213.1 | 258.4 |
ความต้านทานแรงตัด | ASTM C203 | kN/m2 | 247.5 | 316.7 | 430 |
ทดลองการนำแพโฟม EPS ไปลอยน้ำ
รูปแบบการใช้งาน
โป๊ะหรือทางเดินลอยน้ำ (Floating Dock)
แพลอยน้ำ (Floating Raft)
แพแบบแยกทุ่น
แพแบบทุ่นเดียว
การติดตั้งทั่วไป
การติดตั้งโฟม EPS กับโครงสร้าง
ติดตั้งด้วยสกรูร้อยทะลุโฟม
ติดตั้งด้วยอุปกรณ์ถ่วงรัด
ติดตั้งด้วยการใช้ตะปูตอกเฉียง
การทำผิวโฟม EPS เพื่อยืดอายุการใช้งาน
เคลือบโฟมด้วยไฟเบอร์ ต้องใช้ไฟเบอร์ประเภท Acrylic Resin เป็นน้ำยาประสานและทาเคลือบบนผิวโฟม EPS เพราะ Acrylic Resin จะไม่ทำปฎิกิริยากับโฟม EPS
ปิดผิวด้วยโลหะกันสนิม เลือกใช้แผ่นโลหะเคลือบกัลวาไนซ์ในการปิดผิวโฟม
ปิดผิวด้วยไม้กันน้ำ ต้องเป็นไม้ที่ผ่านกระบวนการผ่านสารเคมีหรือเคลืบฟิล์มพิเศษเพื่อใช้ในงานที่ต้องแช่น้ำโดยเฉพาะ
เคลือบผิวด้วยปูนซีเมนต์ การใช้ปูนซีเมนต์ฉาบเคลือบบนผิวโฟม EPS เป็นวิธีการที่ยุ่งยากที่สุดแต่ดีที่สุดเช่นกัน ในการยืดอายุการใช้งานของโฟม EPS แต่ไม่ควรฉาบปูนหนามากกว่า 5มม. เพราะจะทำให้เพิ่มน้ำหนักให้กับทุ่นโฟม EPS มากเกินไป
ราคาโฟมแผ่น โฟมก้อน ต่อความหนา 1 นิ้ว
ราคาโฟม/แผ่น (บาท) | ราคาโฟม/แผ่น (บาท) | ||
---|---|---|---|